เมื่อวันที่ 25 เม.ย. นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เพื่อประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อน‘MISSION 2023’ ส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ ในทุกการก่อสร้างเครือข่ายระบบทางพิเศษ สู้วิกฤติเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อย่างยั่งยืน โดย กทพ. ตั้งเป้าหมายเริ่มจาก 2 โครงการ คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
ได้แก่ 1.โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร (กม.) ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี มูลค่าลงทุน 24,060 ล้านบาท และ 2.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจเชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก) ระยะทาง11.3 กม. มูลค่าลงทุน 16,960 ล้านบาทคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น กทพ. ประเมินว่าการดำเนินการใน 2 โครงการดังกล่าว จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 34,104 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (เทียบเท่าปลูกไม้พื้นเมืองเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 3,500,000 ต้น) นับเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในความสำเร็จของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 66 และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน อย่างไรก็ตาม การใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินโครงการต่างๆ เพราะราคายังคงเทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ที่ใช้ก่อสร้างในปัจจุบัน แต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ด้านนายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย กล่าวว่า สมาคมฯ พร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐ Thailand Net Zero ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งการขับเคลื่อน ‘MISSION 2023’ เป็นความตั้งใจร่วมมือกันดำเนินงานของภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา ที่มุ่งมั่นให้เกิดผลเชิงประจักษ์ในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ซึ่งสมาคมฯ มีความยินดีที่ กทพ. เข้ามาร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 66 จากนั้นในวันที่ 1 ม.ค. 67 ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคใหม่ที่ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก จะเข้ามาเป็นปูนโครงสร้างหลักแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แบบเดิม
นายชนะ กล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัทผลิตปูนแบรนด์ต่างๆ เริ่มผลิตเป็นปูนลดโลกร้อนหมดแล้ว ก่อนที่ปีหน้าจะผลิตเป็นปูนลดโลกร้อนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโครงการก่อสร้างต่างๆ ในประเทศไทย ได้เริ่มนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาใช้ในงานก่อสร้างกันบ้างแล้ว ซึ่งในส่วนของ กทพ. ถือเป็นการดำเนินงานในทางด่วน 2 สายแรกของประเทศไทย โดยขอยืนยันว่าคุณภาพของปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีความแข็งแรงคงทน ซึ่งก่อนจะนำมาใช้งานได้ มีการศึกษาทดลองร่วมกับสถาบันการศึกษา สภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ มากว่า 4 ปี.